สนาม: หุบเขาซิลิคอน
บทนำ:ดังนั้นเมื่อมีการนำยา Bisphosphonates มาใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนจึงทำให้เกิดความกังวลทั้งในส่วนของผู้ป่วยที่รับยา และทันตแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยถึงปัญหาของกระดูกขากรรไกรขาดเลือดไปเลี้ยงเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูกที่ได้รับยาชนิดเดียวกันนี้เป็นอย่างมาก ทำให้ทันตแพทย์กลัวปัญหาที่จะเกิดกับผู้ป่วยในการทำทันตกรรมให้แก่ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนและทันตแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา Bisphosphonates ซึ่งยา Bisphosphonates มีหลายชนิด ได้แก่ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำปีละ 1 ครั้ง เช่น zoledronate (Aclasta) และยาเม็ดชนิดรับประทานซึ่งอาจมีทั้งรับประทาน 1 เม็ดต่อสัปดาห์ เช่น ยา Alendronate (Fosamax), Risedronate (Actonel) หรือ 1 เม็ดต่อเดือน ได้แก่ Ibandronate (Bonviva) ซึ่งกลไกในการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่มนี้มีผลยับยั้งการทำลายกระดูกช่วยรักษามวลกระดูกไม่ให้ลดลง ลดอุบัติการณ์ของการเกิดกระดูกหัก ยาในกลุ่มนี้ที่อยู่ในรูปยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ได้แก่ Zoledronate ยังสามารถนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มีการแพร่กระจายมาที่กระดูก ซึ่งจะมีผลช่วยลดการทำลายกระดูกจากโรคมะเร็ง แต่ปริมาณยาที่ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูกนั้นมีปริมาณยาที่ใช้สูงกว่าที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนเป็นอย่างมาก และยังให้ยาบ่อยกว่าคือเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งต่างจากการให้ยาชนิดฉีดในการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ซึ่งให้ยาในปริมาณที่น้อยกว่า และให้ยาเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น มีรายงานการวิจัยหลายรายงานที่บ่งบอกถึงความปลอดภัยในการใช้ยากลุ่ม Bisphosphonates ในการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนซึ่งรับยาอย่างต่อเนื่องมาภายในระยะเวลา 3 ปี แต่ความเสี่ยงอาจจะเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้เป็นระยะเวลานานมากกว่า 5 ปี...
สนาม: ตาข่ายสีแดง
บทนำ:สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคท์เลนส์ได้ การผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยได้ ซึ่งในประเทศไทยมีการรักษาสายตาด้วยวิธี พีอาร์เค (Photorefractive keratectomy: PRK) และ เลสิค (Laser In-situ Keratomileusis: LASIK) มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-02-26